blogนี้เป็นเกี่ยวกับการศึกษา กรุณาแสดงความคิดโดยใช้คำสุภาพด้วยครับ

วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ข้อมูลเป็นสารสนเทศ


ความหมายของข้อมูล ข้อมูลคือ ข้อเท็จจริงของเหตุการณ์หรือสิ่งที่สนใจ ที่บ่งบอกถึงสถานะทางกายภาพบางอย่างในเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพ เช่น มีแสงสว่างหรือไม่มี สวิตช์ปิดหรือเปิด อุณหภูมิที่องศาเซลเซียส จำนวนนักเรียนกี่คน ชื่อ อายุ เพศ ของนักเรียนแต่ละคน เป็นต้น

วิธีการหาข้อมูล
ในการหาข้อมูลนั้น เรามีวิธีการหาข้อมูลโดยการแบ่งตามกรณีการจัดเก็บดังนี้
กรณีที่ 1 ข้อมูลที่มีการจดบันทึกไว้เรียบร้อยแล้ว ให้ผู้หาข้อมูลไปติดต่อหน่วยงานที่ทำการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลนั้น เช่น ครูให้นักเรียนไปขอรายชื่อนักเรียนทั้งหมอจากฝ่ายทะเบียน ซึ่งฝ่ายทะเบียนเป็นผู้ที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลนั้นไว้ เรามาสามารถนำมาใช้งานได้ทันที (ปัจจุบันส่วนใหญ่มีการจัดเก็บโดยใช้คอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถเรียกมาใช้งานได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น)
กรณีที่ 2 ข้อมูลที่ไม่มีการจดบันทึกไว้ เช่น ผู้หาข้อมูลต้องทำการสำรวจข้อมูลเอง โดยการสอบถาม เช่น ครูสอบถามชื่อนักเรียนแต่ละคนในห้องว่าชื่ออะไรกันบ้างแล้วจดบันทึกไว้เองเพื่อนำไปใช้งานต่อไป

วิธีการนำข้อมูลไปใช้
ข้อมูลที่หาหรือรวบรวมมาได้ในชั้นต้นนั้น เรียกว่า ข้อมูลดิบ ยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากนัก จะต้องนำไปทำการประมวลผลเสียก่อน

การประมวลผลข้อมูล
การประมวลผลข้อมูล คือ การนำข้อมูลไปจัดหมวดหมู่ คำนวณหาค่าบางอย่างที่สนใจ เช่น ถ้าอยากทราบว่าอัตราส่วนเปรียบเทียบว่ามีนักเรียนชายกับนักเรียนหญิงกี่คน ซึ่งเราได้นำข้อมูลมาผ่านการนับ หรือการทำสถิติบันทึก เพื่อให้ได้จำนวนนักเรียนชายกับนักเรียนหญิง ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่างข้อมูล
(ให้ใช้ตารางข้างบนแทนที่นี่)
จากข้อการประมวลผลข้อมูลทำให้เราทราบว่า มีนักเรียนราย 22 คน คิดเป็นร้อยละ 46.80 ของนักเรียนทั้งหมด นักเรียนหญิง 25 คน คิดเป็นร้อยละ 53.20 ของนักเรียนทั้งหมด รวมทั้งหมด 47 คน ซึ่งข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว เราเรียกกว่า สารสนเทศ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ได้ต่อไป

แบบฝึกหัด
เรื่อง จากข้อมูลเป็นสารสนเทศ
คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุด

1. บอกความหมายของข้อมูล

2. วิธีการหาข้อมูลมีกี่วิธีอะไรบ้าง

3. สารสนเทศคืออะไร

4. ข้อมูลดิบ คืออะไร

5. จากใบความรู้ อะไรคือสารสนเทศ

วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในชีวิตประจำวัน


คนเราทุกวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในเมือง ไม่สามารถจะอยู่ได้โดยไม่มีการติดต่อกับโลกภายนอก การรับรู้ข่าวสาร เช่น การอ่านหนังสือพิมพ์ การฟังวิทยุหรือดู โทรทัศน์ ก็เป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแบบหนึ่ง การใช้โทรศัพท์ โทรสาร ก็เป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากนั้น การถอนเงินจากเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ (ตู้ เอ ที เอ็ม) ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน
ไม่แต่เฉพาะคนในเมืองเท่านั้น แม้แต่คนในชนบทก็มีส่วนต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวันด้วย เช่น
เมื่อไปทำบัตรประชาชนที่อำเภอ ทางอำเภอจะเรียกดูข้อมูลจากฐานข้อมูล กลางของสำนักทะเบียน กระทรวงมหาดไทย ซึ่ง
ต่อเชื่อมกันเป็นเครือข่ายที่สามารถเรียกใช้งานได้ทันที เช่นนี้เรียกว่า ระบบออนไลน์ (หรือสายตรง) ระบบเช่นนี้มี
ประโยชน์มาก เพราะจำทำให้ผู้ใช้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและตรงกัน และที่เราจะพบได้อีกที่คือระบบเวชระเบียน
การค้นหาประวัติผู้ป่วย ซึ่งจะเก็บข้อมูลไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย เมื่อมีการเรียกใช้งานก็จะส่งข้อมูลไปยัง
เครื่องที่เรียกใช้งานเป็นต้น

ใบงานที่ 3  เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุด

1. จงบอกเทคโนโลยีที่นักเรียนรู้จักมา 5 อย่าง

2. เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายคืออะไร

3. จงยกตัวอย่างงานที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนนอกเหนือ จากตัวอย่างในใบความรู้

วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552

กำเนิดเทคโนโลยีสารสนเทศ

มนุษย์เป็นสัตว์สังคม มีการตั้งถิ่นฐานอยู่กันเป็นหมู่เหล่าตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว กลุ่มเล็กที่สุดเรียกว่าครอบครัว ถัดขึ้นมาเป็นหมู่บ้าน ตำบล ฯลฯ จนในที่สุดเป็นเมือง เป็นประเทศ มนุษย์แต่ละหมู่เหล่ามีการติดต่อพบปะกัน เพื่อแลกเปลี่ยนอาหาร สิ่งของเครื่องใช้ ยารักษาโรค ฯลฯ ที่ชุมชนตนไม่สามารถผลิตได้หรือผลิตได้ไม่เพียงพอ จนเกิดเป็นการค้าขายระหว่างหมู่บ้าน ระหว่างตำบล เมือง และประเทศ การติดต่อเช่นนี้ ทำให้เกิดการส่งและรับ ข้อมูลข่าวสารถึงกัน แรก ๆ ก็เป็นการบอกกันปากต่อปากต่อมามีการสื่อสารกันด้วยตัวอักษรที่จารึกบนวัสดุต่าง ๆ ซึ่งต่อมากลายเป็นการส่งจดหมายถึงกัน

ความต้องการการสื่อสารด้วยวิธีการที่หลากหลายขึ้นมีความรวมเร็วมากขึ้น ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยีโทรคมนาคม ซึ่งอาศัยหลักวิชาทาง วิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เปลี่ยนคำพูด ข้อความหรือภาพเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปตามสาย หรือเปลี่ยนเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (เรียกว่า คลื่นวิทยุ) กระจายไปในอากาศ เมื่อถึงปลายทาง สัญญาณหรือคลื่นที่ส่งไปนั้นก็จะถูกคืนสภาพให้กลับเป็นคำพูด ข้อความหรือภาพเหมือนกับที่ส่งออกไปจากต้นทาง ทำให้ที่อยู่คนละซีกโลกกันสามารถรับรู้ ข้อมูลข่าวของกันและกันได้ภายในชั่วพริบตา

เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เพิ่งมีขึ้นในช่วงเวลาประมาณ 20 ปี ที่ผ่านมานี้เอง เป็นเทคโนโลยีที่เกิดจากการรวมสองเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน คือ เทคโนโลยีโทรคมนาคมกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คำว่า สารสนเทศ หมายถึงตัวเนื้อหาของข้อมูลข่าวสาร เราใช้คอมพิวเตอร์ทำหน้าที่รวบรวม จัดเก็บ ปรับเปลี่ยนรูปแบบของสารสนเทศ และเทคโนโลยีโทรคมนาคมซึ่งพัฒนาเครือข่ายโทรศัพท์และเครือข่ายวิทยุมาสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้น เป็นการนำเอาความสามารถของคอมพิวเตอร์ (คำนวณ เปรียบเทียบ และตรวจสอบได้รวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ) มารวมกับความสามารถของระบบโทรคมนาคม (ติดต่อได้รวดเร็วและกว้างไกล) ดังนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศ จึงหมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาจัดการกับสารสนเทศนั่นเอง

แหล่งความรู้
-->bcoms.net
-->วิกิพีเดีย
-->it benchama!

แบบฝึกหัด
เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
ชื่อ-สกุล
เลขที่
ชั้น
คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุด

1. บอกความหมายของสารสนเทศ
2. บอกความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
3. อธิบายการส่งสัญญาณด้วยหลักทางวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
4. จงบอกความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
5. จงบอกความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเทคโนโลยีมาใช้